Positive and Negative Pressure Cleanroom

Positive and Negative Pressure Cleanroom

Positive Pressure and Negative Pressure Cleanroom

ถ้ากล่าวถึงความดันอากาศภายในห้องคลีนรูม (Cleanroom) แล้ว หลายๆท่านคงจะคุ้นเคยกับ Positive Pressure Cleanroom เป็นอย่างดี เนื่องจากห้อง Positive Pressure เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ในขณะเดียวกันนั้นบางท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับ Negative Pressure สักเท่าไหร่นัก แล้วผู้ใช้จะรู้ได้อย่างไรหละว่าควรจะเลือกความดันอากาศแบบไหน จึงจะเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับความดันอากาศภายในห้องคลีนรูม (Cleanroom) ทั้ง 2 ประเภทกัน

1. Positive Pressure Cleanroom (ห้องคลียรูมความดันบวก)

Positive Pressure Cleanroom ถ้าแปลอย่างตรงไปตรงมาก็หมายถึงห้องสะอาดที่มีความดันเป็นบวก  ซึ่งนั้นก็หมายความว่าความดันภายในห้องสะอาด จะสูงกว่าความดันภายนอกห้องเสมอ การที่ความดันภายในห้องจะสูงกว่าภายนอกได้นั้น วิศวะกรออกแบบระบบจะต้องคำนวนปริมาณอากาศ เพื่อเติมอากาศผ่านฟิลเตอร์เพื่อกรองให้อากาศสะอาดก่อนที่จะปล่อยเข้าไปในห้องให้มากกว่าอากาศที่ดูดออกนั้นเอง

ห้องประเภทนี้จะเน้นความสำคัญไปที่การป้องกันไม่ให้สารปนเปื้อน หรือฝุ่นละอองเข้ามาเจือปนภายในห้องคลีนรูม (Cleanroom) ในกรณีมีการเปิดประตูหรือกิจกรรมใดที่มีการเปิดช่องให้อากาศไหลผ่าน อากาศภายในห้องจะไหลออกสู่ห้องที่มีความดันต่ำกว่าเสมอ ดังนั้นห้องประเภทนี้จึงเหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะที่ไม่ต้องการให้ละอองฝุ่นหรือสารปนเปื้อนเข้ามาเกาะที่ผลิตภัณฑ์ อาทิเช่นอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และภายในโรงพยาบาล เป็นต้น

2. Negative Pressure Cleanroom (ห้องคลีนรูมความดันลบ)

ห้อง Negative Pressure จะมีระดับความดันภายในห้องต่ำกว่าความดันภายนอกเสมอ ด้วยเหตุนี้จึงมีโอกาสที่อากาศบริเวณภายนอกจะไหลเข้ามาภายในห้องคลีนรูม (Cleanroom) เมื่อมีการเปิดประตูห้อง หรือมีช่องว่างระหว่างห้อง จุดประสงค์หลักของ Negative Pressure Cleanroom ก็เพื่อป้องกันไม่ให้สารปนเปื้อน สารเคมี เชื้อต่างๆ จากภายในห้องกระจายสู่อากาศภายนอกนั่นเอง ด้วยเหตุนี้วิศวะกรออกแบบ Negative Pressure Cleanroom ต้องคำนึงถึงการออกแบบระบบระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อกรองอากาศให้สะอาดก่อนที่ปล่อยออกสู่อากาศภายนอกเช่นกัน

ห้องคลีนรูมความดันลบจึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยา(เภสัชกรรม) เนื่องจากไม่ต้องการส่วนผสมยาแต่ละชนิดเข้ามาปะปนกัน หรือแม้กระทั่งห้องทดลองทางชีวภาพต่างๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่ออากาศภายนอก รวมไปถึงห้องคัดกรองผู้ป่วยโรคติดต่อ ที่ปัจจุบันถูกใช้เป็นห้องกักผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่านั่นเอง