COVID-19 AND NEGATIVE PRESSURE ROOM

COVID-19 AND NEGATIVE PRESSURE ROOM

COVID-19 AND NEGATIVE PRESSURE ROOM

เนื่องจากสถานการณ์โควิด19ที่ระบาดหนักในตอนนี้ จึงทำให้สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลหลายๆแห่งจำเป็นต้องนำห้องความดันลบมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคออกสู่ภายนอกห้อง

ห้องความดันลบคืออะไรแล้วทำไมถึงมีบทบาทมากในช่วงสถานการณ์โควิด วันนี้ แอดมินจะมาให้ข้อมูลเพื่อเป็นความรู้กันค่ะ

ห้องความดันลบ หรือ Negative Pressure Room คือห้องที่ถูกออกแบบให้มีระดับความดันภายในห้องต่ำกว่าความดันภายนอกห้องเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ไหลออกมาสู่ภายนอกห้องด้วยเหตุนี้วิศวกรออกแบบ Negative Pressure Cleanroom ต้องคำนึงถึงการออกแบบระบบระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อกรองอากาศให้สะอาดก่อนที่ปล่อยออกสู่อากาศภายนอกเช่นกัน

ศูนย์ควบคุมและป้องกันเชื้อโรคของสหรัฐอเมริกา(CDC, Center of Disease Control and Prevention, U.S.A) ได้ให้คำแนะนำว่าคุณสมบัติของห้องความดันลบนั้นควรมีดังต่อไปนี้

1. อัตราการหมุนเวียนของอากาศจะอยู่ระหว่าง 6-12 ACH (Air Change per hour)

2. ควรมีห้อง Anteroom กั้นระหว่าง ห้องผู้ป่วย และ ทางเดินสัญจรทั่วไป (Corridor) เพื่อจำกัดผลกระทบที่มีต่อผู้ที่สัญจรไปมา

3. อากาศที่ถูกดูดทิ้งออกจากห้อง (Return Air) ต้องผ่านการกรองด้วย แผงกรองอากาศชนิดประสิทธิภาพสูง อย่างHEPA Filter (High Efficiency Particulate Air) เพื่อกรอง สิ่งปนเปื้อน จุลชีพก่อโรค ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกอาคาร

4. อากาศใหม่ที่นำมาหมุนเวียนในห้อง จำเป็นต้องผ่านการกรองด้วย HEPA Filter (High Efficiency Particulate Air)  อีกครั้ง ก่อนปล่อยเข้าสู่ห้อง

5. ความเร็วลม (Air Flow) จะต้องมากกว่า 125 cfm

6. ความดันระหว่างห้อง Anteroom และ ห้องผู้ป่วย ต้องไม่น้อยกว่า 7.5 ปาสคา

ดังนั้นจุดประสงค์หลักของ Negative Pressure Room นั้นก็คือ ป้องกันไม่ให้สิ่งปนเปื้อน และ จุลชีพก่อโรค แพร่กระจายออกไปยังภายนอกห้องนั้นเอง

ด้วยประสบการณ์การออกแบบคลีนรูมมากว่า 20 ปี ทางทีมงานของเราจึงคำนึงถึงปัจจัยต่างๆอย่างครบถ้วน เพื่อให้กระบวนการผลิตของลูกค้ามีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้รวมไปถึงขีดจำกัดของผู้ใช้ อาทิ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกด้วย หากท่านสนใจจะสร้างคลีนรูมหรือปรับปรุง สามารถติดต่อขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่ 02-751-1256 หรือ Add Line @Skill1999 ได้เลยค่ะ

เอกสารอ้างอิง: https://www.acat.or.th/download/acat_or_th/journal-11/11%20-%2008.pdf